โรคฮิต ชีวิตติดออนไลน์







   "อยู่ดี ๆ รู้สึกแสบตา ปวดหัว ปวดร้าวที่ไหล่ ไปจนถึงข้อมือ หรือแม้แต่ผิวหน้าคล้ำขึ้น ไปจนถึงเป็นหวัดคัดจมูก ผื่นผิวหนัง และหมดสติได้" โรคเหล่านี้อาจไม่ร้ายแรง แต่ให้ความรู้สึกรำคาญไม่สบายตัวแบบนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความฮอตฮิตของกระแสคอมพิวเตอรฺและอินเทอร์เน็ต ที่นับวันยิ่งดึงดูดให้คนมี "ชีวิตติดจอ" มากและนานยิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่ระวังโรครำคาญเหล่านี้อาจกลายเป็นโรคบั่นทอน จนทำให้ต้องเสียเวลาและเงินทองมากมายจนไม่รู้ตัว
ในสังคมไทยเวลานี้ โดยเฉพาะโลกของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ หากมองไปรอบ ๆ ตัวคุณจะเห็นว่าเพื่อนหลายคน นอกจากมีภาระหน้าที่ต้องทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อยใช้เวลาวันละ 8 ชั่วโมงแล้ว หลายคนยังมีโลกส่วนตัวกับคอมพิวเตอร์ในสังคมออนไลน์ อย่างที่เรามักได้ยินบทสนทนาของเพื่อน เช่น "ตื่นมาขอเข้าไปดูว่าเพื่อนโพสรูปอะไร จะได้เม้นท์ หรือเข้าไปเก็บผัก ขโมยผักเพื่อน แต่งบ้าน ทำร้านอาหารก่อนดีกว่า" เป็นพฤติกรรมของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ "ออนไลน์เล่นเกม และคุยกับเพื่อน" ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ social networking กันมากขึ้น จนหลายคนอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันทั้งคืน หรือถึงขั้นหลับคาจอก็เกิดขึ้นมาแล้วกับหลายคน
     คนไทยในวัยทำงานเฉลี่ยอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเมื่อ 4-5 ปีก่อนใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง เท่านั้น แต่ปัจจุบันเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 8-10 ชั่วโมง สิ่งที่น่าสนใจคือเกือบครึ่งหนึ่งของการใช้งาน หมดไปกับการเล่นเกม การแชทออนไลน์ และล่าสุดกับการเข้าเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น facebook หรือ hi5 เว็บที่ให้ทุกคนทั่วไปเปิดโพสต์รูปแสดงความเห็นกันอย่างสะดวก และล่าสุดกับ twitter ที่เปิดให้ทุกคนเข้าไปเขียนข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน คิดอะไรอยู่ จนกลายเป็นกิจกรรมที่ทำให้หลายคนมีความสุข คลายเหงา และมีเพื่อนมากขึ้น แต่ข้อดีมักมีข้อเสียตามมา เพราะการนั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ แบบไม่ระวังอาจกระหน่ำซ้ำเดิมให้ร่ายกายเจ็บป่วยขึ้นมาได้
น.พ. ศักดา อาจองค์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถ่ายทอดให้เห็นภาพของอาการป่วยต่าง ๆ ไว้ดังนี้

ดวงตาที่น่าสงสาร

    ลองสังเกตตัวเองกันดูว่าขณะที่ดูคอมพิวเตอร์ ท่องเน็ตอย่างเมามันส์ หน้าจอต่าง ๆ เปลี่ยน
ไปตามนิ้วที่คลิกเมาส์ผ่านไปแล้วสิบหน้าจนถึงร้อยหน้า แต่ตาเรากระพริบไปแล้วแค่กี่ที.....
 หลายคนเข้าข่ายจ้องจนลืมกระพริบ สวนทางกลับความต้องการของร่างกาย ที่ต้องพระพริบตาบ่อย ๆ เพื่อนรักษาความชุ่มชื้นของนัยน์ตา พฤติกรรมนี้ทำให้เกิดอาการที่แบ่งได้คร่าว ๆ คือ
    1. ตาแห้ง จากความชุ่มชื้นนัยน์ตาหายไป เพราะโดยธรรมชาติของคนเราจะกระพริบตาบ่อย   ๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของตา
    2. ตาอักเสบ
    3. ตาเสื่อม ซึ่งเหมือนกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่เสื่อมลงเพราะความเหน็ดเหนื่อยมานาน
     4. เกิดรอยคล้ำรอบดวงตา มีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตา
     5. ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา ปวดกระบอกตา และปวดศีรษะตามมาในที่สุด
    หลังจากเกิดความเจ็บป่วยเหล่านี้แล้ว ก็คือรักษาตามอาการ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายตามมามากมาย ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ นพ. ศักดาแนะนำคือ วิธีการป้องกัน ที่ง่ายที่สุดคือการไม่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป การกระพริบตาเพื่อรักษาความชุ่มชื้น โดยระพึงเสมอว่า ความเพลิดเพลินที่หน้าจออินเทอร์เน็ตของเว็บต่าง ๆ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนเราไม่เบื่อ และเกิดความเพลิดเพลิน เราต้องไม่ลืมตัวจนจ้องหน้าจนนานจนเกินไป


คลื่นแรง อันตรายก็มา
   รังสีและคลื่นจากจอคอมพิวเตอร์แม้จะอยูในระดับที่ปลอดภัย แต่ถ้าใช้งานจนเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายคนคงสังเกตได้ด้วยตัวเองจากผลกระทบเฉพาะหน้า คือหลายคนหน้าแดง คล้ำขึ้นหลังจากอยู่หน้าจอนาน ๆ ถึงขั้นมีการแนะนำกันว่าควรทาครีมกันแดดก่อนอยู่หน้าจอเสียด้วยซ้ำ เพื่อป้องกันแสงจากจอมีรังสีอัลตราไวโอเลตออกมากระทบผู้ใช้งานโดยตรง
นอกจากนี้ยังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ่้าที่แพทย์แนะนำว่าผู้ที่ติดตั้งท้องในช่วง 3 เดือนแรกควรหลีกเลี่ยงการอยู่หน้าคอมพิวเตออร์นาน ๆ เพราะอาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ให้เติบโตผิดปกติ แม้จะยังไม่มีผลพิสูจน์แต่ป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า

ปวดตั้งแต่หัว ไปถึงนิ้วมือ
   ท่านั่งไม่ถูกต้อง เช่น จอต่ำหรือสูงเกินไป แป้นพิมพ์วางไม่สมดุล ระยะของจอกับระดับสายตาไม่เหมาะสม ผลก็คือทำให้ปวดตั้งแต่กล้ามเนื้อคอ ปวดแขน จนมาถึงข้อมือและนิ้วมือ เพราะเอ็นที่ยึดส่วนต่าง ๆ ของมือทำงานหนัก จนทำให้เกิดความเมื่อยล้า และเจ็บปวด  วิธีการแก้ปัญหาคือการพักการใช้มือ ส่วนใหญ่พบว่าเมื่อหยุดการใช้งานอาการจะดีขึ้น หากมีอาการหนักขึ้น คือต้องผ่าตัดข้อมือ

นั่งนานอาจหมดสติ
  การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานต่อเนื่องยาวนาน อาจทำหมดสติได้ เพราะโรคลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำ คล้าย ๆ กับอาการของคนที่นั่งเครื่องบินนาน ๆ ในชั้นประหยัด ที่เคยได้ยินกันว่าเป็นโรค economy class syndrome เช่น มีกรณีที่เกิดขึ้นกับหนุ่มวัย 32 ปี ที่อยู่หน้าจอนานถึงวันละ 18 ชั่วโมง เกิดอาการโคม่า เพราะอาการเลือดจับตัวเป็นก้อน ที่บริเวณขา ก่อนแตกกระจายเดินทางไปยังปอดทั้งสองข้าง และส่งผลมายังหัวใจ แม้จะยังไม่ได้พิสูจน์ว่าโคม่าเพราะสาเหตนี้หรือไม่ แต่ก็เป็นอันตรายที่ต้องระวัง โดยให้สังเกตอาการเริ่มต้นจากขาที่เริ่มบวมก่อน ส่วนกลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่มีอาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ที่อายุมาก และอ้วน

คอมเราเองก็แพร่เชื่อได้
หลายคนอาจคิดว่าการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้าน คงไม่เกิดโรคภัยติดต่อทางร่างกายได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ของสาธารณะ หรืออินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่กลุ่มนั้นมักได้รับการติดต่อจากโรคตั้งแต่หวัดจนถึงผิวหนังเชื้อรา แต่ความจริงแล้ว คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน หลายคนเป็นภูมิแพ้โดยไม่รู้ตัว เพราะฝุ่นที่จับอยู่บริเวณเครื่้องจำนวนมาก
สาเหตุมาจากเมื่อคอมพิวเตอร์ทำงาน จะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้ดูดฝุ่นละอองมาเกาะจำนวนมาก หลักการทำงานคล้ายกับเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งหากเราจะสังเกตดูจะพบว่าหลังจอคอมพิวเตอร์หรือทีวี มักมีฝุ่นตกอยู่จำนวนมาก นั่นเพราะแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ดูดฝุ่นตกลงมา หากสะสมไปนาน ๆ ผลก็คือทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ฝุ่นได้ในที่สุด
อย่างที่ว่าแม้คอมพิวเตอร์จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกวิทยาการ ทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายมากขึ้นทั้งในแง่ของการทำงานและชีวิตประจำวัน แต่หากเราไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และปล่อยให้เทคโนโลยีครอบงำ จนกลายเป็นทาสคอมพิวเตอร์แล้ว ผลสุดท้ายก็จะเป็นดังเช่นตัวอย่างของอาหารเจ็บป่วยที่ร่างกายของเราเองต้องรับผล ซึ่งมาจากการกระทำของเรานั่นเอง ทั้งๆ ที่ทั้งหมดนี้สามารถป้องกันได้
อย่าลืมว่าเด็ก ๆ คือเยาวชนของชาติ และคนที่จะสร้างเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุนภาพได้นั้นคือพ่อแม่ทุกคนนั้นเอง เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์ควรเป็นเพียงอุปกรณ์เสริมความรู้ให้ลูกหลานของเรามากกว่า มาเป็นเพื่อนหรือผู้ปกครองแทนเรากันดีกว่า

เด็กติดคอม โตช้า
คอมพิวเตอร์กับเด็กเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง หากเด็กใช้คอมพิวเอตร์นานเกินไปและอยู่กับเนื้อหาของคอมเตอร์ที่ไม่เหาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่องของภัยทางสังคมที่น่ากลัวเท่านั้น แต่พัฒนาการทางร่างกายของเด็กยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล
ด้านจิตใจ เด็กกับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กันด้วยเกม การที่เด็กเล่นเกมนาน จะส่งผลต่อทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับสังคมรอบข้าง เพราะจะทำให้เด็กหมกหมุ่นขาดทักษะในเชิงความคิดรวบยอดและไม่ชอบการเข้าสังคม รวมถึงทักษะในการใช้ภาษาโดยเฉพาะในปัจจุบันที่เด็กแซท และเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมีภาษาที่หลากหลายและผิดเพี้ยนจากภาษาพูดมากมายหรือบางคนอาจเกิดปัญหาพูดช้า
ด้านร่างกาย การที่เด็กอยู๋กับคอมพิวเตอร์ เมาส์ คีบอร์ดเป็นเวลานาน อาจได้ในการพฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่นนิ้วมือ แต่จะทำให้ขาดการพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา เพราะเด็กไม่ได้เล่นออกกำลังกาย การกระโดด ปื่นป่าย ส่งผล ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เด็กบางคนยังมีผลกลายเป็นเด็กอ้วนอีกด้วย


วิธีหนีโรคคอมพิวเตอร์
1. การใช้งานคอมพิวเตอร์ 1-2 ชั่วโมง ควรหยุดพัก 10-15 นาที ทั้งหลับตา มองต้นไม้ บริหารดวงตาด้วยการกลอกตาเป็นวงกลม 5-6 รอบ ใช้นิ้วนางแตะหัวตาแต่ละข้าง คลึง กดจุด 1-2 วินาที
2. ตั้งจอคอมพิวเตอร์ห่างจากสายตา 20-24 นิ้ว ระดับต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย เพื่อลดการตกของจุดรวมแสง ส่วนความสว่างควรอยู่ที่ประมาณ 3 เท่าของแสงแวดล้อม
3.จัดท่านั่งให้ถูกต้อง เช่น เวลาพิมพ์ข้อศอกกับคีย์บอร์ดอยู่ในระดับเดียวกัน ขาสองข้างวางเรียบกับพื้น นั่งตัวตรง อย่าให้ข้อมือโก่ง โค้งผิดปกติ เวลาใช้เมาส์ตัวอักษรที่เล็กที่สุดที่คุณสามารถอ่านได้ ใช้ตัวอักษรสีดำ บนพื้นสีขาวเป็นหลัก หลีกเลี่ยงพื้นสีเข้ม
4. ควรออกกำลังกาย เช่น กำมือ คลายมือ นวดไหล่ ต้นคอ ยืดแขน ลุกขึ้นยืนขยับตัวเป็นระยะ ๆ 
5. หมั่นทำความสะอาดปัดฝุ่น เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค 


5 พฤติกรรมบอกว่าคุณติดอินเตอร์เน็ตเข้าแล้ว
1.นั่งๆ อยู่ ก็รู้สึกอยากออนไลน์ทั้งที่มีงาน มีภารกิจอื่นที่ต้องทำ
2.อยากหยุด หรืออยากลดการใช้อินเตอร์เน็ตแต่ก็ทำไม่ได้สักที และบางทีถึงขั้นหงุดหงิด ซึมเศร้า โมโห เมื่อหยุดใช้อินเตอร์เน็ต (ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องใช้)
3.ออนไลน์นานเกินกว่าความตั้งใจเมื่อเริ่มเล่นตอนแรก
4.ความสัมพันธ์กับครอบครัว หรือกับเพื่อนบางคน บางกลุ่มลดลง
5.เมื่อรู้สึกเศร้า ผิดหวัง ท้อแท้ มักออนไลน์เพื่่อหนีปัญหา หรือปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านั้น